ศิลปะสมัยเชียงแสน – โยนก
พุทธศตวรรษที่ 16-20 หรือศิลปะล้านนาไทย
เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสนซึ่งปรากฏซากเมืองตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน เมืองดังกล่าวนี้ เคยเป็นราชธานีและเมืองสำคัญของไทยในสมัยแรกที่ตั้งมั่นขึ้นในสุวรรณภูมิตามความเป็นจริงแล้วคนไทยที่มาตั้งมั่นอยู่ในแถบนี้ได้โยกย้ายบ้านเมืองและสร้างราชธานีหลายหนเพราะเหตุที่มีอุทกภัยน้ำในแม่น้ำโขงไหลบ่าขึ้นมาท่วมบ้านเมืองเสียหายบ่อยๆคำว่าโยนกเชียงแสนที่กล่าวในที่นี้จึงกล่าวเพื่อความสะดวกในการกำหนดเรียกชื่อศิลปกรรมแบบที่สร้างในระยะที่โยนก( เมืองสมัยก่อนเชียงรายราวพ.ศ.1300-1600)และเชียงแสนเป็นราชธานี(พ.ศ.1600-1800)ตลอดจนมาถึงเชียงใหม่เป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนาในชั้นหลังด้วย
ศิลปะล้านนา หรือ ศิลปะเชียงแสน มีลักษณะเก่าแก่มาก คาดว่ามีการสืบทอดต่อเนื่องของศิลปะทวาราวดี และลพบุรี ในดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่สมัยหริภุญชัย ศูนย์กลางของศิลปะ ล้านนาเดิมอยู่ที่เชียงแสน เรียกว่าอาณาจักรโยนก ต่อมาเมื่อ
พญามังราย ได้ย้ายมาสร้างเมืองเชียงใหม่ ศูนย์กลางของของอาณาจักรล้านนาก็อยู่ที่ เมืองเชียงใหม่สืบต่อมาอีกเป็นเวลานาน
........ เริ่มทัศนากันเลยนะครับ.....
ชุดนี้เป็นชุดที่อยู่ในชั้นดินลึกประมาณ 4 เมตร ขนาดห้อยคอประมาณ 1 นิ้ว กว่า ๆ
องค์แรกเป็นพระยอดธงเชียงแสนครับ... นับเป็นพระยอดธงแบบพิมพ์ใหญ่ในกรุนี้
มีรูปที่ล้างแล้วด้วยครับ....
องค์ที่ ๒ ......เป็นสิงห์หนึ่งปางสมาธิครับ ด้านล่างใต้ฐานทำเป็นรูสัณฐานรี ไม่ทราบเจตนา....ใครรู้ช่วยบอกทีครับ....
องค์ที่ ๓ .......สันนิษฐานกันว่าเป็นพระอุปคุต อุ้มบาตร
หรืออาจจะเป็นพระสิวลีอุ้มบาตร ครับ...
องค์ที่ ๔...... มาแปลกไปเลยครับ ....... เป็นพระพิฆเนศ ขนาด ๑ นิ้ว รูปทรงท่านสง่าและงดงามมากครับ......
มีตัวอย่างองค์ที่ล้างแล้วมาโชว์ด้วยครับ...(ยืมภาพเค้ามาลง)
พระพิฆเณศวร์ ปางประทานพร มือซ้ายถือลูกแก้วสมปราถนา...
สวยไหมครับ........
องค์ที่ ๕........ เป็นพระยืนเชียงแสน ปางห้ามสมุทรครับ...
ขนาดประมาณสองข้อนิ้วชี้ เลี่ยมแล้วห้อยกำลังดีเลยครับ........ งามจริง ๆ .....
สำหรับองค์ที่ ๖...... ถือเป็นสุดยอดสำหรับวันนี้เลยก็ว่าได้ครับ.....พระนาคปรกเชียงแสนโบราณ ปางประทานพร (นั่ง ) ขนาด กว้าง ๓ นิ้ว สูง เกือบ ๖ นิ้ว........... (ผิดพลาดประการใด
ช่วยแนะนำด้วยครับ...) *** มีผู้ให้ข้อมูลใหม่ว่าเป็น พระทวารวดี นั่งปางประทานอภัย ครับ ***
และองค์ที่ ๗......... ผมถือว่า่ เป็นสุดยอดอีกเหมือนกัน....
พระเทริด ทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร ขนาดสูง ๕.๕ นิ้ว
ครับ...........
วันนี้คงพออก พอใจกันพอสมควรนะครับ........
ยังมีของแปลกอีกเยอะในกรุนี้ ....... ผมเองคาดไม่ถึงจริง ๆ
คราวหน้าจะพาไปเที่ยววัดประตูเขียน (วัดชะเมา) กันครับ ไปดูกันให้ จะ จะ กันเลยว่า ที่ว่ากรุแตก แตก ตรงไหน ใครขุด......
ผมก็มีองค์ที่สองอยู่เหมือนกันแต่เกิดข้อสงสัยทำไมหระกรุล้างออกมาแล้วไม่เห็นร่องรอยสึกกร่อนแม้แต่นิด
ตอบลบ