วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555

พระกรุ วัดท่าเรือ

พระกรุ วัดท่าเรือ
พระนางตราท่าเรือ

พระกรุ... นางตราท่าเรือ (เนิ้อดินเผา) พิมพ์นาคปรก เป็นอีกหนึ่งสุดยอดพระกรุเมืองใต้ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช  อายุ ประมาณ 700 ปี เชื่อกันว่าเป็นพระจากวัดนางตราที่นำมาบรรจุไว้ที่กรุวัดโพธิ์ร้าง       วัดท่าเรือในปัจจุบัน) จึงเรียกขานกันว่า พระนางตราท่าเรือ พุทธศิลป์สวยงาม พุทธคุณเข้มขลัง ครบเครื่อง มีผู้พบเห็นน้อย      ของแท้จริง ๆ หายาก

ราคาองค์ลักษณะนี้อยู่ที่หลักแสนต้น ๆ ครับ








 โทรถาม  081-5377558


วัดนางตรา หรือวัดพะนังตา ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช นับเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของภาคใต้ที่มีพระกรุเก่าแก่ ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมสะสมอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชา ที่รู้จักมักคุ้นกันในชื่อ "พระกรุวัดนางตรา"

ตามประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า "วัดนางตรา" นี้ สร้างโดยพระนางเลือดขาว ผู้เป็นบุตรีของคหบดีย่านหมู่บ้านป่อล้อ (ปัจจุบันอยู่ใน ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่) เป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี คือ ใบหน้างาม เนื้องาม นมงาม นิ้วงาม และน่องงาม มีอุปนิสัยเยือกเย็น สุขุม มีเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และยังมีจิตใจเป็นกุศล ชอบการทำบุญทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลต่างๆ อยู่เป็นเนืองนิจ ต่อมาได้เป็นพระมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์ เล่ากันว่าที่มีพระนามว่า "พระนางเลือดขาว" เนื่องด้วยโลหิตที่ไหลจากดัชนีนางของพระนางเมื่อคราวไปช่วยงานบวชนาคครั้ง ยังไม่ได้เป็นพระมเหสีเอกนั้น แทนที่จะเป็นสีแดงกลับเป็นสีขาวอย่างน่าประหลาด เมื่อทรงเป็นพระแม่เมือง พระมเหสีเอกของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช จนถึงกาลมัชฌิมวัย พระองค์ก็ยังไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเพื่อสืบสันตติวงศ์ จึงเข้าเฝ้าเพื่อกราบทูลลาออกจากตำแหน่ง และใช้ชีวิตในช่วงปัจฉิมวัยในการสร้างบุญกุศลอุทิศชีวิตให้พระบวรพุทธศาสนา โดยทำการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัดขึ้นมากมายทั่วเขต จ.นครศรีธรรมราช ส่วนใหญ่จะสร้างทับลงในบริเวณที่เป็นเทวาลัยเก่าของศาสนาพราหมณ์ เพราะในต้นยุคสมัยศรีวิชัยคนพื้นเมืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ล้วนนับถือศาสนา พราหมณ์ อาทิ วัดแม่เจ้าอยู่หัว เป็นวัดแรก สร้างที่บ้านเกิดของพระนางใน อ.เชียรใหญ่ วัดเขาพระทอง อ.ชะอวด วัดถ้ำเขาแดง อ.ร่อนพิบูลย์ วัดสระโนราห์ อ.ทุ่งสง ฯลฯ รวมทั้ง "วัดพระนาง" ที่ อ.ท่าศาลา และในทุกๆ วัด ล้วนเคยขุดพบพระพิมพ์ทั้งเนื้อดิน ชิน ทอง เงิน และสัมฤทธิ์ เป็นพระเครื่องและพระบูชามากมาย เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติความเชื่อ ซึ่งนับเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระนางเลือดขาว

สำหรับชื่อ วัดนางตรา มาจากที่วัดนี้อยู่ใกล้แม่น้ำท่าสูง ในฤดูฝนน้ำจะท่วมบริเวณวัด พระนางจึงสั่งให้สร้างทำนบกั้นน้ำหรือพนังกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดพะนังตรา หรือวัดนางตรา  สืบมาถึงปัจจุบัน และจุดสุดยอดของวัดนี้ก็คือ
พระกรุนางตราพระนางตรา
พระกรุนางตราที่แตกกรุ ออกมา มีพุทธศิลปะแบบศรีวิชัยยุคกลาง มีอายุประมาณปี พ.ศ.1500-1600 สร้างก่อนอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สีออกน้ำตาลแก่ ดำอมเทา หรือเหลืองมันปู ที่เป็นเนื้อชินมีน้อยมาก และมีมากมายหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์สามเหลี่ยมปาฏิหาริย์ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พิมพ์ยืนประทานพร ฯลฯ แต่ที่เป็น "พิมพ์นิยม" และเป็นพระพิมพ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของภาคใต้ก็คือ พิมพ์นาคปรกใหญ่ เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม พระประธานประทับนั่งสมาธิ แสดงปางนาคปรก มีลักษณะพิเศษที่ใต้ฐานนาคจะมีพระองค์เล็กประทับอยู่อีกหนึ่งองค์

จากประสพการณ์ผู้เขียน พบพระลักษณะนี้ในองค์พระศิลปขอมลพบุรี
ด้วยครับ ....... 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น