วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระยอดธงองค์จิ๋ว

พบอีกแล้วครับยอดธงองค์จิ๋ว
ขนาดความสูง ๒.๕ ซ.ม. เท่านั้น
พบในไหรวมกับบุทององค์ใหญ่พิมพ์เล็ก
บริเวณใกล้ฐานพระประธาน 
ศิลปะ ...ยังไม่ทราบครับ
(ดูจากหลายเว็บ บอกว่าเป็นศิลปะอยุธยา
แต่มีความแตกต่างที่เนื้อทองและความคมชัด)

ที่พบขณะนี้ยังมีจำนวนน้อย หรืออาจค่อย ๆ 
ทะยอยออกจำหน่ายส่วนร้านพระเครื่องที่ขึ้นเว็บอยู่
ก็เป็นเส้นทางเดิมกับที่ปล่อยพระยอดธงชุดแรก.....




ด้านหน้า



ด้านหลัง



และที่เห็นอยู่นี้สันนิษฐานว่าเป็นแผ่นทองคำ
ที่ใช้สำหรับบุพระ ครับ......



เป็นแผ่นทองคำบาง ๆ สามารถกดทับลงบนแบบองค์พระ
พับงอและอยู่ตัวได้ ถ้าใช้ความร้อนลนที่ผิวก็น่าจะทำให้
ทองติดแนบที่ตัวองค์พระ......


           จากการที่ได้นำพระยอดธงแต่ละพิมพ์  จำนวน ๓ พิมพ์ 
ไปให้ผู้มีความสามารถด้านการตรวจสอบพุทธคุณระดับคน
ในรัฐสภาเชื่อถือ  พบว่า ... มีความแตกต่างของระดับพุทธคุณ
ไปตามแต่ละพิมพ์ ดังนี้

๑ .  แบบพิมพ์เล็ก บุทอง พบว่ามีพลังปกปักษ์รักษา บารมีคุ้มครองแคล้วคลาด ปลอดภัย ปราศจากภยันตรายทั้งปวงแบบหมู่คณะ  น่าจะเป็นสำหรับแม่ทัพ นายกอง



๒. แบบพิมพ์เล็กหน้ายิ้ม พบว่ามีพลังโดดเด่นด้านอยู่ยงคงกระพันเฉพาะตัว ศัตรูแพ้พ่ายยำเกรง  
              จับครังที่ ๑ ไม่มีปฏิกิริยา 
              จับครั้งที่ ๒ ก็ยังนิ่ง 
              พอขอจับครั้งที่ ๓ พบพลังพุทธคุณรุนแรงมากกว่าทุกพิมพ์   น่าจะใช้สำหรับพวกทะลวงฟัน หรือพวกกองหน้ากล้าตาย





๓. แบบพิมพ์เล็กหน้าหวาน พบพลังเมตตามหานิยมสูง กับแคล้วคลาดปลอดภัยเฉพาะตัว ครับ....
   
  

คราหน้าถ้ามีโอกาส
จะขนไปให้ท่านดูอีก........................
   




วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระเชียงแสน กรุวัดชะเมา


ส่วนองค์นี้ขอแซงคิวครับ.....
ผมล้างคราบแล้วแช่แอลกอฮอล์อยู่เดือนหนึ่งแล้ว
สะอาดขาวหมดจด เป็นพระหินสีแกะสลักสวยงามมาก
องค์นี้ชอบเป็นพิเศษ ถูกใจมาก
เป็นพระเชียงแสน ลักษณะคล้ายสิงห์หนึ่ง
องค์พระสูง ๓.๕ ซ.ม.  ฐานกว้าง ๒.๕ ซ.ม.
แต่สังฆาฎิยาวลงมาถึงท้อง
ทางเหนือเรียกกันว่า "พระกรุฮอด" 
แต่องค์นี้ขุดได้รวมอยู่ในกรุวัดชะเมา
คนขุดบอกว่าเห็นหลงมาเพียงองค์เดียวเท่านั้น ครับ....


                                                          
                                                ด้านหน้า





                                                ด้านหลัง

ตำนานพระเมืองฮอด หรือที่เรียกว่า"พระกรุฮอด"ซึ่งตามตำนานค้นพบทุกวัดในเมืองนี้ก่อนที่จะกลายเป็นเมืองบาดาลไป พระหินสีเมืองฮอด จ.เชียงใหม่ พระพุทธรูปและพระเครื่องเนื้อแก้วผลึกที่ขุดค้นพบจากกรุตามเมืองในภาคเหนือและภาคกลางมีแหล่งที่พบมากที่สุดคือเมืองเชียงใหม่เชียงรายและอยุธยาพระแก้วไม่ได้หล่อ หรือทำขึ้นจากแก้วธรรมดาตามที่เข้าใจกันแต่เป็นแร่รัตนชาติแท้ๆมีสีเขียวสีขาวและสีเหลืองฯลฯแร่หินที่คนทั่วไปเรียกว่าแก้วผลึกนี้คือพลอยหินเนื้ออ่อนประเภทเปลือกหยกหินเขี้ยวหนุมานหินเนื้ออ่อนสีเหลืองนี้จัดอยู่ในตระกุลหินบุษราคัมมีสีเหลืองใสวาวและสีเหลืองน้ำผึ้ง

ในสมัยเชียงแสนและเชียงใหม่นิยมสร้างพระแก้วสีเหลืองนี้เรียกว่าบุษย์น้ำทอง พระแก้วสีขาวเรียกว่าเพชรน้ำต้มหรือเพชรน้ำค้างสันนิษฐานว่าพระแก้วมีการสร้างทำและสืบทอดมาจากเขตล้านนาตอนบนลงมาจนถึงเมืองเชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2502-2503 กรมศิลปากรได้ค้นพบพระเจดีย์ทุกวัดในเมืองฮอดเพื่อนำพระพุทธรูปและโบราณวัตถุทั้งหมดที่ขุดพบมาเก็บไว้เนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเสร็จน้ำจะท่วมเมืองฮอดทั้งหมดในครั้งนั้นทางการได้ขุดพบพระแก้วมากที่สุดและเป็นการขุดค้นพบพระแก้วครั้งใหญ่ที่สุดแร่หินสีเหลืองที่นำมาสร้างพระแก้วนี้เข้าใจว่าจะนำมาจากประเทศลังกาและจีนหินเขี้ยวหนุมานที่เนื้อดีน้ำงามที่สุดที่เรียกกันว่าจุ๊ยเจียประกายแห่งพลังคนจีนโบราณถือกันว่าแก้วขาวจุ๊ยเจียสามารถป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่อต้านอาถรรพณ์ต่างๆได้ด้วยใยพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ขุดได้จากกรุเจดีย์ตามวัดหลายแห่งในเขตอำเภอฮอดที่พบมากจะมีพระแก้วเนื้อสีขาวและเนื้อสีเหลืองที่ทางการได้ขุดค้นรวบรวมไว้รวมทั้งชาวบ้านได้ขุดค้นกันในระยะต่อมามีจำนวนมากพอสมควรมีขนาดใหญ่มีขนาดหน้าตัก 3 นิ้วเศษขนาดเล็ดสุด0.5 นิ้วพระแก้วของกรุเมืองฮอดที่ยังพอมีเป็นงานสร้างศิลปะด้วยวัตถุที่มีค่าที่น่าศึกษาและควรเก็บอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นงานแกะที่ทำด้วยฝีมือของสกุลช่างเมืองฮอดแท้ๆการสร้างพระแก้วต้องใช้ทักษะ และความสามารถในการวางรูปแบบที่สูงมากเป็นการสร้างที่ทำยากกว่าการหล่อพระพุทธรูปหรือทำพระเครื่องด้วยดินเผามากพระแก้วของกรุเมืองฮอดเข้าใจว่าช่างแกะด้วยกันหลายคนเพราะแต่ละองค์มีฝีมือทำได้งดงามมากมีปางสมาธิและปางมารวิชัยปางยืนก็มีบ้างแต่ละองค์มีรูปแบบในศิลปะเชียงแสนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่21-22 อันเป็นยุคทองของเชียงใหม่ที่พุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเมืองเชียงใหม่นอกจากพระแก้วที่ขุดพบแล้วยังพบพระเจดีย์แก้วบรรจุพระบรมธาตุอีกหลายองค์รวมทั้งรูปสัตว์เช่นช้างกวางหมอบนกคุ้มและภาชนะเครื่องใช้สอยจำลองขนาดเล็กอีกจำนวนมาก สันนิษฐานว่าขณะนั้นนิยมสร้างแต่พระแก้วรวมทั้งเครื่องใช้สอยจำลองอันเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาด้วยความศรัทธาต่อสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยที่เมืองโบราณแห่งอื่นจะพบกรุพระแก้วเพียงแห่งละองค์เท่านั้นเข้าใจว่าจะเป็นพระแก้วของเจ้านายหรือบุคคลชั้นสูงสร้างขึ้นเข้าใจว่าเป็นพระชัยวัฒน์ประจำตัวหรือสร้างทำขึ้นในพิธีบวงสรวงศาสนา


พระแก้วกรุเมืองฮอดจะพบในหลายวัดด้วยกันเช่นวัดหลวงฮอดวัดศรีโขงวัดเจดีย์สูงวัดดอกเงินและวัดสันหนองฯลฯแต่กล่าวโดยรวมได้ว่าที่กรุวัดศรีโขงเป็นกรุที่พบพระแก้วมากที่สุดเพราะเป็นกรุใหญ่มากเมืองฮอดเป็นเมืองโบราณของอาณาจักรล้านนา(ปัจจุบันเป็นอำเภอฮอด)ตัวเมืองเก่าตั้งอยู่ที่บ้านวังลุงพงศาวดารโยนกชี้ว่าเมืองนี้คือท่าเชียงทองศูนย์กลางของเมืองคงอยู่ที่วัดหลวงฮอดในอดีตพระนางจามเทวีได้นำไพร่พลขึ้นมาสร้างเมืองลำพูนได้แวะพักที่ริมแม่น้ำปิงก่อนได้สถานที่แห่งนี้เป็นทำเลดีจึงได้สร้างเมืองขึ้นชื่อเมืองฮอดในปีพ.ศ. 1203 ได้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุไว้บนยอดเขาลุกหนึ่งชื่อว่าดอยเกิ้ง (ดอยฉัตร)และได้สร้างวัดรวม 99วัด วัดพระเจ้าโท้วัดเก่าสร้างในสมัยจามเทวีนอกจากนั้นเมื่อปีพ.ศ. 2513 มีผู้ขุดพบพระรอดบังภัยมีศิลปะแบบปาละเทียบได้กับพระบางวัดดอนแก้วลำพูนมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 17 บ่งชี้ถึงศิลปะเมืองฮอดก็เก่าถึงสมัยหริภุญไชย

จากหลักฐานในเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์เหม็งหลายชิ้นที่ขุดพบในวัดเจดีย์สูงบอกชื่อจักรพรรดิสี่จงตรงกับพ.ศ. 2065-2110 เครื่องถ้วยจีนชิ้นที่เก่าที่สุดพบที่วัดศรีโขงมีอายุตรงกับสมัยจักรพรรดิสี่จงปีศักราชซ้วนเต็กตรงกับปีพ.ศ. 1919-1978 การได้พบสิ่งของอื่นๆอีกจำนวนมากบอกอายุตรงกับสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนเป็นช่วงที่สมัยเชียงใหม่กำลังรุ่งเรืองทำให้รู้ว่าเมืองฮอดยังคงเป็นเมืองท่าค้าขายหรือผ่านพักของกลุ่มพ่อค้าก่อนที่จะนำสินค้าไปเมืองเชียงใหม่เชียงรายและพะเยา เมืองฮอดดำรงฐานะเป็นเมืองต่อมาอีกเป็นเวลายาวนานเมื่อสี่สิบปีก่อนข้าพเจ้าได้ทันเห็นการขุดค้นโบราณสถานและขุดค้นรวบรวมศิลปวัตถุของทางการครั้งนั้นด้วยเมื่อสายน้ำจากเขื่อนใหญ่ท่วมเข้ามาทำให้ชุมชนเมืองฮอดรวมทั้งศาสนสถานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ต้องล่มสลายทำให้ศิลปะและงานฝีมือของเมืองฮอดถูกลืมเลือนไปจากผู้คนในยุคนี้เมื่อลมหายใจยังมีอยู่ศิลปะของเมืองฮอดยังคงได้รับการสืบทอดสานต่อ ณ ที่นี่ไปอีกนาน



มาแล้วครับ......
พระเชียงแสนกรุวัดชะเมา
องค์ที่ได้มานี้เป็นของมือขุดชุดแรกครับ
ขุดได้พร้อมกับพระสิงห์หนึ่งขนาดห้อยคอ 
พระกกุสันทะ พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑  แต่พึ่งนำออกมาให้ดู
เป็นรูปเหมือนพระโคตมะ พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันครับ......

เนื้อสำริดเก่าสมยุค....



ด้านหน้า



ด้านหลัง


ขนาดองค์พระสูง  ๕  ซ.ม.
ฐานกว้าง  ๓  ซ.ม.


ใต้ฐานอุดผงพุทธคุณ


ศิลปะเชียงแสนลักษณะเดียวกับที่แสดงในบล๊อก
ของ Dr.ณัฐนนท์ และ Dr. ณัฐชัย ครับ...



และในคราหน้าท่านจะได้ชมพระยอดธงบุทองคำองค์จิ๋วครับ
นักขุดรับรองว่าไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร.....

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระทวารวดี

         ควันหลงทวารวดีมาอีก ๓ ครับ........
ปางประทานพรนั่ง, พระร่วง ๔ กร และปางมารวิชัย 
เนื้อสำริดเงิน ศิลปะลพบุรี นักขุดบอกว่าพอได้มา
ก็ล้างคราบกรุเลย เผื่อจะเป็นทองแต่กลายเป็นสำริดเงินแทน
 ยืนยันว่าได้มาจากวัดชะเมา ดูจากศิลปะแล้วใช่ครับ.....

เชิญชมครับ....


องค์นี้ปางประทานพรนั่งครับ......





ด้านหน้า



ด้านหลัง



องค์นี้พระร่วง (นั่ง) ครับ
บางท่านให้ทัศนะว่าเป็นพระอวโลกิเตศวร์ ครับ.......


ด้านหน้า



ด้านหลัง


องค์นี้พระยอดขุนพลทวารวดีนั่ง ปางมารวิชัย ขัดแล้วครับ...


ด้านหน้า





ด้านหลัง




ด้านข้าง

ตอนยังไม่ได้ขัดลักษณะคล้ายแบบนี้ครับ (ยืมเค้ามาลง)
ว่ากันว่าพบที่กรุศรีเทพ ครับ....


หน้า




หลัง


ครั้งต่อไปมารอจ่อคิวแล้วครับ
พระยุคเชียงแสนขนาดห้อยคอ 
ว่ากันว่าเป็นรูปเหมือนแทน
พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ครับ.........

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระยอดธงกรุวัดชะเมา

วันนี้เราจะมา UPDATE ข้อมูลพระยอดธงกรุวัดชะเมากันครับ

เวลาผ่านไปเกือบจะ ๒ ปี แล้ว 
กรุวัดชะเมาแตกประมาณ เมษา ปี ๕๔
ยังมีเรื่องให้น่าติดตามกันอีกเยอะครับ........

พบว่า...เฉพาะพระยอดธงแบบต่าง ๆ 
ที่อ้างว่าเป็นของกรุวัดชะเมามี
อยู่หลายแบบ บางคนก็ว่า..
หลวงพ่อทำเอง......
บ้างก็ว่าปลอมทั้งเพ.......
บ้างก็ว่าเอาที่อื่นมาแอบอ้าง...

แต่อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าและข้อมูล
พยานบุคคลที่พอจะนำมาประกอบการสันนิษฐาน 
พบว่า...  พระยอดธงที่น่าจะเป็นของกรุวัดชะเมา 
หรือวัดประตูเขียน
แบ่งออกเป็นขนาดตามพิมพ์ได้ ๒ แบบ
เนื้อสำริด ทอง,นาก,เงิน 
บุทอง,เนื้อทองคำ

๑. แบบพิมพ์ใหญ่   ที่พบอยู่ในตอนนี้ได้แก่พระยอดธงเชียงแสน



ด้านหน้า



ด้านหลัง


๒ แบบพิมพ์เล็ก ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีถึง ๔ ลักษณะ
    ๒.๑   พบตอนยกเพื่อย้ายหลวงพ่อสูงและร่วงลงมาจากองค์พระ 
 และที่พบบริเวณข้างรั้วกำแพงที่ติดกับบ้านคนด้านหลังวัด  ส่วนใหญ่เป็นแบบคราบกรุหนาเขียวเข้ม ผมตั้งชื่อเรียกท่านว่า
 "พิมพ์เล็กหน้ายิ้ม"

(ขอยืมรูปมาจาก คุณบ่าว วัดยักษ์)



ด้านหน้า



ด้านหลัง



ล้างแล้วเป็นอย่างนี้ ครับ...


แก่ทอง



ออกนาก



หนักเงิน


   ๒.๒   พบในบาตรบริเวณด้านในโพรงขององค์พระ ส่วนใหญ่เป็น
แบบบุทอง และ (เนื้อทองคำทั้งองค์ที่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นของจริง
โดยผู้ขุดอ้างว่าอยู่ที่หลวงพ่อหลายองค์)




ด้านหน้า



ด้านหลัง




องค์นี้เป็นแบบคราบกรุเขียว




ล้างแล้วเป็นอย่างนี้ครับ.....
ลักณะเป็นพิมพ์แบบ
เดียวกับบุทอง






  ๒.๓   พบในไห และนอกไห ซึ่งตัวไหนั้นแตกเป็นชิ้นแล้ว บริเวณหลุมที่ขุดลึกลงไปประมาณ ๔ เมตร จากตำแหน่งองค์พระสูงเดิม  แบบคราบกรุบางเนื้อสำริดผสม ทอง นาก เงิน มีการเปียกทอง 
ผมเรียกท่านว่า  " พิมพ์เล็กหน้าหวาน"    มี ๒ ขนาด ดังนี้

     -  ขนาดแรก ก้านยาว ลักษณะองค์แบบเดียวกันกับขนาดที่สอง วัดจากฐานไม่รวมก้านถึงปลายเกศมีขนาด ๓.๕ ซ.ม. เท่ากัน แต่สัดส่วนโดยร่วมมีขนาดใหญ่กว่า  สนิมแดงจัดจ้าน เปียกทอง




ด้านหน้า



ด้านหลัง


ล้างแล้วครับ



           - ขนาดที่สอง  ก้านสั้น สัดส่วนเล็กกว่า หวานกว่า...และดูงามกว่า เนื้อสำริดออกนาก เปียกทอง  สวยบาดใจจริง ๆ 


ด้านหน้า



ด้านหลัง


ล้างแล้วออกมาเป็นแบบนี้ครับ


ด้านหน้า




ด้านหลัง





  ๒.๔  พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณ รอบ ๆ วัด(ประตูเขียน)
ลึกประมาณ ๑ - ๒ เมตร  รูปแบบไม่แน่นอน แต่มีเอกลักษณ์
ที่พบแล้วเป็นเนื้อออกทองคำ ขนาดสูงประมาณ ๓ ซ.ม.  




ด้านหน้า




ด้านหลัง

               คนวงในเล่าให้ฟังว่า มีเถ้าแก่แถวท่าวัง  ได้จากหลวงพ่อไปองค์หนึ่ง กว่าหลวงพ่อท่านจะใจอ่อนยอมให้บูชา  ว่ากันว่าทำบุญให้วัดไปหลายหมื่น  (ส่วนองค์ที่เห็นอยู่นี้ย้ายไปอยู่กรุส่วนตัวของท่านปลัด ซี ๙ แถวภาคกลางท่านหนึ่งแล้ว ครับ...)


           และที่เป็นเนื้อสำริดเงินก็มีครับ  เคยเห็นในย่ามหลวงพ่อและได้ชมชัด ๆ ที่ท่านอัยการองค์หนึ่ง แต่ยังไม่มีโอกาสถ่ายรูปมาลง    

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระกรุวัดชะเมา ศิลปะลพบุรี

มาต่อกันเลยครับ
คราวที่แล้วเกริ่นนำไว้แต่ยังไม่ได้ลงรูป...

องค์ที่เห็นอยู่ด้านล่างนี้ เป็นพระร่วง(ยืน) ครับ

สูง  ๕  ซ.ม. คราบกรุเขียวเกาะทั้งองค์
สันนิษฐานว่าเป็นศิลปะลพบุรี
ไม่รู้ว่าถืออะไรอยู่ในมือ  กำลังค้นอยู่ครับ...

พบอยู่ทางด้านหลังวัดชะเมา
(ซึ่งแต่เดิมอาจจะเป็นด้านหน้าของวัดประตูเขียน)
และอยู่ถัดจากต้นยางใหญ่ไปเล็กน้อย 
เลยไปทางขวา ประมาณ ๑ เมตร ลึก ประมาณ เมตรกว่า ๆ 
ใกล้กับบริเวณที่พบพระพุทธเทวฤทธิ์ ครับ....





รูปด้านหน้า




รูปด้านหลัง


และที่พบอยู่ด้วยกันเป็นองค์นี้ครับ พระ่ร่วงนั่ง (ปางสมาธิ)
ศิลปะลพบุรีเช่นกัน สูง ๔.๕ ซ.ม. หน้าตักกว้าง ๓ ซ.ม.
หน้าเหลี่ยม กรามใหญ่ ไม่รู้เหมือนใคร?
(ว่ากันว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒
 หรือ ๗ ลักษณะแบบเดียวกับที่นครวัดนครทมไงครับ..)
คราบกรุเขียวหนาเหมือนกัน
แต่พอล้างไปล้างมาออกสีน้ำตาลแดงเข้ม
ลองขัดด้านหลังดู ได้เรื่องครับ
บั่นท้ายเหลืองอร่าม....... งามจริง ๆ 



รูปด้านหน้า


รูปด้านหลัง