วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

พระยอดธงกรุวัดชะเมา

วันนี้เราจะมา UPDATE ข้อมูลพระยอดธงกรุวัดชะเมากันครับ

เวลาผ่านไปเกือบจะ ๒ ปี แล้ว 
กรุวัดชะเมาแตกประมาณ เมษา ปี ๕๔
ยังมีเรื่องให้น่าติดตามกันอีกเยอะครับ........

พบว่า...เฉพาะพระยอดธงแบบต่าง ๆ 
ที่อ้างว่าเป็นของกรุวัดชะเมามี
อยู่หลายแบบ บางคนก็ว่า..
หลวงพ่อทำเอง......
บ้างก็ว่าปลอมทั้งเพ.......
บ้างก็ว่าเอาที่อื่นมาแอบอ้าง...

แต่อย่างไรก็ตามจากคำบอกเล่าและข้อมูล
พยานบุคคลที่พอจะนำมาประกอบการสันนิษฐาน 
พบว่า...  พระยอดธงที่น่าจะเป็นของกรุวัดชะเมา 
หรือวัดประตูเขียน
แบ่งออกเป็นขนาดตามพิมพ์ได้ ๒ แบบ
เนื้อสำริด ทอง,นาก,เงิน 
บุทอง,เนื้อทองคำ

๑. แบบพิมพ์ใหญ่   ที่พบอยู่ในตอนนี้ได้แก่พระยอดธงเชียงแสน



ด้านหน้า



ด้านหลัง


๒ แบบพิมพ์เล็ก ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีถึง ๔ ลักษณะ
    ๒.๑   พบตอนยกเพื่อย้ายหลวงพ่อสูงและร่วงลงมาจากองค์พระ 
 และที่พบบริเวณข้างรั้วกำแพงที่ติดกับบ้านคนด้านหลังวัด  ส่วนใหญ่เป็นแบบคราบกรุหนาเขียวเข้ม ผมตั้งชื่อเรียกท่านว่า
 "พิมพ์เล็กหน้ายิ้ม"

(ขอยืมรูปมาจาก คุณบ่าว วัดยักษ์)



ด้านหน้า



ด้านหลัง



ล้างแล้วเป็นอย่างนี้ ครับ...


แก่ทอง



ออกนาก



หนักเงิน


   ๒.๒   พบในบาตรบริเวณด้านในโพรงขององค์พระ ส่วนใหญ่เป็น
แบบบุทอง และ (เนื้อทองคำทั้งองค์ที่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นของจริง
โดยผู้ขุดอ้างว่าอยู่ที่หลวงพ่อหลายองค์)




ด้านหน้า



ด้านหลัง




องค์นี้เป็นแบบคราบกรุเขียว




ล้างแล้วเป็นอย่างนี้ครับ.....
ลักณะเป็นพิมพ์แบบ
เดียวกับบุทอง






  ๒.๓   พบในไห และนอกไห ซึ่งตัวไหนั้นแตกเป็นชิ้นแล้ว บริเวณหลุมที่ขุดลึกลงไปประมาณ ๔ เมตร จากตำแหน่งองค์พระสูงเดิม  แบบคราบกรุบางเนื้อสำริดผสม ทอง นาก เงิน มีการเปียกทอง 
ผมเรียกท่านว่า  " พิมพ์เล็กหน้าหวาน"    มี ๒ ขนาด ดังนี้

     -  ขนาดแรก ก้านยาว ลักษณะองค์แบบเดียวกันกับขนาดที่สอง วัดจากฐานไม่รวมก้านถึงปลายเกศมีขนาด ๓.๕ ซ.ม. เท่ากัน แต่สัดส่วนโดยร่วมมีขนาดใหญ่กว่า  สนิมแดงจัดจ้าน เปียกทอง




ด้านหน้า



ด้านหลัง


ล้างแล้วครับ



           - ขนาดที่สอง  ก้านสั้น สัดส่วนเล็กกว่า หวานกว่า...และดูงามกว่า เนื้อสำริดออกนาก เปียกทอง  สวยบาดใจจริง ๆ 


ด้านหน้า



ด้านหลัง


ล้างแล้วออกมาเป็นแบบนี้ครับ


ด้านหน้า




ด้านหลัง





  ๒.๔  พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณ รอบ ๆ วัด(ประตูเขียน)
ลึกประมาณ ๑ - ๒ เมตร  รูปแบบไม่แน่นอน แต่มีเอกลักษณ์
ที่พบแล้วเป็นเนื้อออกทองคำ ขนาดสูงประมาณ ๓ ซ.ม.  




ด้านหน้า




ด้านหลัง

               คนวงในเล่าให้ฟังว่า มีเถ้าแก่แถวท่าวัง  ได้จากหลวงพ่อไปองค์หนึ่ง กว่าหลวงพ่อท่านจะใจอ่อนยอมให้บูชา  ว่ากันว่าทำบุญให้วัดไปหลายหมื่น  (ส่วนองค์ที่เห็นอยู่นี้ย้ายไปอยู่กรุส่วนตัวของท่านปลัด ซี ๙ แถวภาคกลางท่านหนึ่งแล้ว ครับ...)


           และที่เป็นเนื้อสำริดเงินก็มีครับ  เคยเห็นในย่ามหลวงพ่อและได้ชมชัด ๆ ที่ท่านอัยการองค์หนึ่ง แต่ยังไม่มีโอกาสถ่ายรูปมาลง    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น